ฮอนด้า ประกาศยอดขายครึ่งปี 2563 ครองอันดับ 1 ตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคล คาดการณ์ตลาดรถยนต์ปี 2563 อยู่ที่ 680,000 คัน เน้นกลยุทธ์ด้านดิจิทัล พร้อมยกระดับงานบริการหลังการขาย
31 กรกฎาคม 2563
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ประชาชนต้องปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตและการทำงาน ผู้บริโภคไม่กล้าใช้จ่าย และชะลอการตัดสินใจซื้อสินค้า ภาคธุรกิจทั้งประเทศหยุดชะงักรวมทั้งธุรกิจรถยนต์ด้วย ส่งผลต่อยอดขายในครึ่งปีแรก 2563 (มกราคม – มิถุนายน 2563) ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ด้วยยอดขายรถยนต์รวม 325,773 คัน หรือลดลง 38.7% เช่นเดียวกับตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลรวม ที่มียอดขาย 141,366 คัน หรือลดลง 41.8%
ยอดการจำหน่ายรถยนต์ฮอนด้าในครึ่งแรกของปี 2563
ในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายนที่สถานการณ์โควิด-19 มีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์เป็นอย่างมาก แต่มีทิศทางที่ดีขึ้นด้วยยอดขายที่เริ่มฟื้นกลับขึ้นมาตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม ส่งผลให้ 6 เดือนแรกของปีนี้ ฮอนด้ามียอดขายรวม 41,326 คัน มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 29.2% ซึ่งสามารถครองยอดขายเป็นอันดับหนึ่งในตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคล แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีอัตราลดลง 36.1% ซึ่งถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 แต่ฮอนด้าก็ยังมีอัตราการเติบโตที่ดีกว่าตลาดรถยนต์ส่วนบุคคลโดยรวม
สำหรับยอดขายรถยนต์ฮอนด้า ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 (มกราคม – มิถุนายน 2563) แบ่งตามเซกเมนต์ ประกอบด้วย
กลุ่มรถยนต์ซับคอมแพคท์ซีดาน
- ฮอนด้า ซิตี้ ยังได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มนี้ ด้วยยอดขาย 16,950 คัน หรือคิดเป็น 39.3%
- ฮอนด้า ซีวิค และฮอนด้า ซีวิค แฮทช์แบ็ก ยังครองความเป็นผู้นำด้วยยอดขาย 8,656 คัน คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 56.7%
- ในกลุ่มรถยนต์สปอร์ตเอนกประสงค์ขนาดกลาง ฮอนด้า เอชอาร์-วี ครองอันดับ 1 มียอดขายสะสม 3,667 คัน ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 33%
- กลุ่มรถยนต์สปอร์ตเอนกประสงค์ขนาดใหญ่ ฮอนด้า ซีอาร์-วี ครองอันดับ 1 มียอดขายสะสม 1,978 คัน ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 43%
- ฮอนด้า แอคคอร์ด มียอดขายสะสม 2,270 คัน ครองส่วนแบ่งการตลาด 45.3%
ในช่วงนี้ลูกค้าบางส่วนที่เคยชะลอการซื้อออกไปก็เริ่มกลับมาตัดสินใจซื้อสินค้า ผนวกกับภาครัฐที่มีมาตรการผ่อนปรนในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลอดจนมีแผนฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ทยอยออกมา ซึ่งฮอนด้าคาดว่าจากปัจจัยเหล่านี้จะมีส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม และทำให้ความต้องการการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น โดยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 ฮอนด้า ได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจใน 3 ด้าน เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในยุคใหม่ อันประกอบด้วย
1) ด้านการขายและการตลาด
ฮอนด้า เพิ่มความเข้มข้นด้านการตลาดออนไลน์ โดยใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์ (Big Data) และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในหลายด้าน อาทิ
- Online Channel
- New Normal Auto Show
- Online Training
พร้อมสร้างคุณค่าของงานบริการแบบใหม่ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าการดูแลรถยนต์ฮอนด้าเป็นเรื่องง่าย และสามารถเลือกรับบริการได้ในรูปแบบที่ต้องการ โดยได้ปรับกลยุทธ์เพื่อให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และการใช้ชีวิตของลูกค้าแบบ New Normal มากยิ่งขึ้น โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในงานด้านต่างๆ ดังนี้
- Online Booking ส่งเสริมระบบการจองคิวออนไลน์ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า
- Super Fast Tech เพิ่มประสิทธิภาพการบริการให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
- Roadside Assistance บริการช่วยเหลือฉุกเฉินนอกสถานที่ 24 ชั่วโมง โดยช่างผู้ชำนาญงานจากศูนย์บริการ
- Drop & Go Services สำหรับลูกค้าที่ไม่ต้องการรอรับบริการที่ศูนย์บริการ เพียงนัดหมายและยืนยันงานบริการล่วงหน้า เมื่อถึงวันนัดก็สามารถนำรถมาจอดและฝากกุญแจ ณ จุดบริการได้เลย รวมถึงสามารถชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ (e-Payment) ได้อีกด้วย
- Home Services บริการอำนวยความสะดวกในการดูแลรถยนต์ (บางรายการ) ถึงบ้าน
สร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งของทั้งองค์กร โดยนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาด และเพื่อมอบประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้า ซึ่งในยุคที่มีการแข่งขันสูง Digital Transformation มีส่วนสำคัญในการสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ฮอนด้าได้เน้นการสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัลทุกส่วนงาน มุ่งยกระดับทักษะของพนักงานทางด้านดิจิทัล มีการเชื่อมโยงข้อมูล พร้อมนำไปวิเคราะห์ร่วมกับการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อการพัฒนารูปแบบการนำเสนอผลิตภัณฑ์ การบริการ และการสื่อสารทางการตลาด ไปสู่สิ่งที่ลูกค้าคาดหวังได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ฮอนด้าได้ริเริ่ม Blockchain Innovative Technology (BIT) อีกหนึ่งโปรเจกต์สำคัญ ที่เริ่มต้นขึ้นเพื่อรองรับ Big Data และการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจัดตั้งกลุ่มคนรุ่นใหม่ขึ้นมา เพื่อทดลองการทำงานแบบไร้รอยต่อในแต่ละเจเนอเรชัน ในช่วงแรกจะเริ่มใช้กับกิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัทฯ (CSR) เพื่อกระตุ้นให้พนักงานทำกิจกรรมเพื่อสังคม ด้วยการบันทึกการทำความดีผ่าน Time Banking ซึ่งโมเดลดังกล่าวจะนำไปประยุกต์ใช้กับงานในส่วนอื่นๆ ของฮอนด้าต่อไปในอนาคต
ในช่วงครึ่งปีหลัง 2563 สถานการณ์โควิดในประเทศไทยเริ่มคลี่คลาย ทิศทางตลาดของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีแนวโน้มดีขึ้นกว่าในช่วงต้นปีแรก แต่ยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพราะตลาดยังมีความอ่อนไหวหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดซึ่งอาจทำให้ประชาชนกลับมาระมัดระวังการใช้ชีวิตและการใช้เงินอีกครั้ง ฮอนด้าได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำเนินงานในหลายด้านเพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้าในยุคใหม่ และยังคงมาตรการ Social Distancing ในโชว์รูมและศูนย์บริการ รวมถึงทุกพื้นที่ในการดำเนินธุรกิจอย่างเข้มงวดต่อไป ฮอนด้าคาดว่าตลาดรถยนต์รวมในปี 2563 จะมียอดขายรวม 680,000 คัน ลดลงจากปีก่อน 32% โดยเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล 304,000 คัน ลดลงจากปีก่อน 35%
”ข่าวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ฮอนด้าคว้ารางวัล ‘แบรนด์ที่มีบริการหลังการขายยอดเยี่ยม’ จากงาน Thailand Car Of the Year 2024 สะท้อนความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ และตอกย้ำจุดแข็งด้านการบริการหลังการขายที่ได้มาตรฐานและครบวงจร พร้อมดูแลตลอดอายุการใช้งาน ผ่านเครือข่ายศูนย์บริการฮอนด้าทั่วประเทศ
18 พฤศจิกายน 2567
ฮอนด้า คว้า 4 รางวัลมาตรฐานความปลอดภัยจาก ASEAN NCAP Grand Prix Awards 2024 นำโดย ฮอนด้า ซีอาร์-วี และฮอนด้า ซีวิค ตอกย้ำแบรนด์ที่ส่งมอบยนตรกรรมคุณภาพ และมอบความมั่นใจในการขับขี่ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยอันล้ำสมัย
29 พฤษภาคม 2567